วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Safty Medication Management

Safty Medication Management
หน่วยงาน            อายุรกรรมชาย
ที่มาและความสำคัญ         
การบริหารยาเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของพยาบาล เริ่มตั้งแต่การคัดลอกคำสั่งการรักษาด้วยยา หากการคัดลอกยาไม่ถูกต้อง ตั้งแต่ชื่อยา ขนาดยา จำนวนยา รูปแบบของยา เวลาที่ให้ ให้ยาที่เป็น DI ในเวลาเดียวกัน ล้วนส่งผลทำให้กระบวนการจัดแจกยาผิดพลาดได้ ผู้รับบริการเกิดความไม่ปลอดภัยจาการให้ยา เกิดความคลาดเคลื่อนจากการให้ยา จากแนวคิดหลัก องค์กรที่น่าไว้วางใจ” (high reliability organization) ระหว่างวันที่ 12 - 15 มีนาคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรัม เมืองทองธานี เพื่อการพัฒนาสู่ความสำเร็จ เป็นการตื่นรู้ต่อสถานการณ์รอบตัวต่อผู้คนต่อการค้นหาสาเหตุต่อความเสี่ยงในระบบและการเตรียมพร้อมอย่างมีสติ ทางหน่วยงานจึงพัฒนาให้เกิด High Reliability Drug System
วัตถุประสงค์        เพื่อให้การคัดลอกคำสั่งยาถูกต้อง
ตัวชี้วัด               อัตราความถูกต้องของการคัดลอกคำสั่งยาถูกต้อง  >90%
กลุ่มเป้าหมาย      พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน  ธันวาคม 2555 – พฤษภาคม  2556
ขั้นตอน
            1. ทบทวนขั้นตอนการคัดลอกคำสั่งด้วยยาเดิม
            2. จัดเก็บข้อมูลการคัดลอกคำสั่งการรักษาด้วยยาที่ผิดพลาด
            3. วิเคราะห์หาสาเหตุของการคัดลอกคำสั่งไม่ถูกต้อง
            4. ทำแนวทางการคัดลอกคำสั่งด้วยยา
            5. ทำรายชื่อยาที่ถูกต้องเป็นปฏิทินตั้งโต๊ะ
            6. จัดทำใบน้ำเกลือที่คัดลอกส่วนผสมของยา
            7. ประเมินผลการปฏิบัติงาน
วิธีการดำเนินงาน
            1. จัดเก็บข้อมูลการคัดลอกคำสั่งการรักษาด้วยยาที่ผิดพลาด
            2. วิเคราะห์หาสาเหตุของการคัดลอกคำสั่งไม่ถูกต้อง คือ
2.1    ไม่ได้คัดลอกคำสั่งใช้ยา
2.2    คัดลอกผิด  เกิดจากความรู้เกี่ยวกับยาที่แพทย์สั่งได้แก่
-    ชื่อยาผิด  เป็นชื่อการค้า  ชื่อยาดูคล้ายกัน  เช่น  Lasix , Losec
-    ขนาดยาผิด
-    ความแรงของยาผิด
-    วิธีใช้ยาผิด  ยาบางตัวเป็น  DI  กัน  ต้องปรับเปลี่ยนเวลาการให้ยา
-    อัตราความเร็วในการให้ยาผิด
-    วิถีทางให้ยาผิด
-    รูปแบบยาผิด
2.3    การขาดความรู้เกี่ยวกับยาที่สั่งใช้
-    ชื่อยา
-    รูปแบบของยาที่สั่งใช้
-    ข้อบ่งใช้
-    ขนาดของยา
-    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา
-    เภสัชพลศาสตร์ และ เภสัชจลนศาสตร์ของยา
-    อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้น
-    ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยาเมื่อใช้ร่วม
ความร่วมมือของผู้ป่วยต่อการใช้ยา
2.4    จัดทำแนวปฏิบัติการคัดลอกคำสั่งใช้ยา (ดังเอกสารที่แนบมา)
2.5    ทำนวัตกรรมปฏิทินตั้งโต๊ะ
2.6    จัดทำใบน้ำเกลือที่คัดลอกส่วนผสมของยา

เตียงที่ .................                ถุงที่ .........................
ชื่อ นาย ........................................................................
NTG ( 1:5 ) = NTG 100 mg. ( 20 ml / 2 amp )
      5 % D/W 500 ml.    Rate ……………….….. ml/hr.
      0.9% NSS 500 ml    Rate ……………….….. ml/hr.
 ( เริ่ม 3 ml/hr ค่อยปรับเพิ่มหรือลดทีละ.............ml/hr )
เริ่มให้วันที่......................................  เวลา ....................
หมดวันที่ .......................................  เวลา .....................
ผู้ให้ ...............................................................................

เตียงที่ .................                ถุงที่ .........................
ชื่อ นาย ........................................................................
Sandostatin ( Octreotide ) 12  amp  ( 50 mEq/hr )
     +  0.9% NSS 1000 ml.    Rate   42 ml/hr.
เริ่มให้วันที่......................................  เวลา ....................
หมดวันที่ .......................................  เวลา .....................
ผู้ให้ ...............................................................................

ผลการดำเนินงาน
หัวข้อ

ก่อนการแก้ปัญหา
24 ธ.ค 55 – 31 ม.ค 56
หลังการแก้ปัญหา

ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
ลอกคำสั่งยาไม่ชัดเจน
26
26
15
10
6
ชื่อยา ผิด
4
0
0
0
0
ขนาดยาผิด/ไม่ระบุขนาดยา/ไม่ระบุหน่วย
40
26
29
21
19
จำนวนยาไม่ถูกต้อง           
3
1
0
1
1
ไม่มีการคัดลอกคำสั่งยา
12
5
2
1
0
วิธีใช้ยาผิด
0
0
0
0
0
อัตราความเร็วในการให้ยาผิด
1
5
2
3
1
ระบุเวลาผิด/ไม่ระบุเวลา/ยาเป็น DI กัน
19
12
15
11
10
รูปแบบยาผิด
1
0
0
0
0
เขียนคำสั่งยา การใช้ยาที่เป็นตัวย่อไม่เป็นสากล
41
45
36
25
21
รวม
148
115
99
72
58
จำนวนการคัดลอกคำสั่งยาทั้งหมด
(คิดเป็นร้อยละของจำนวนครั้งที่ผิด )
1193 (12.40 )
1500
( 7.66 )
1100
( 9.00 )
1050
( 6.85 )
1200
( 4.83 )

ตารางเปรียบเทียบผลก่อน-หลังการพัฒนา
ตัวชี้วัด
ก่อนการพัฒนา
หลังการพัฒนา
อัตราการคัดลอกคำสั่งยาถูกต้อง >90%
87.60 %
91.17 %
แผนพัฒนา         
1. มีโอกาสขยายผลใช้ในใบน้ำเกลือคัดลอกยาทำในยาปฏิชีวนะและยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำอื่นๆที่ใช้ในหน่วยงาน
2. มีโอกาสใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการคัดลอกคำสั่งยา (ในกรณีใบน้ำเกลือคัดลอกยาทำในยาปฏิชีวนะและยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำ)
บทเรียนที่ได้รับ
1. ทำให้พยาบาลได้รับความรู้เรื่องยามากขึ้น เช่น มีความรู้เรื่องชื่อทางการค้า ชื่อสามัญ การใช้ตัวย่อของยาที่เป็นสากล ยาที่เป็น DI เพื่อจะได้เฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดจากการใช้ยาของผู้ป่วย
2. ทำให้พยาบาลมีความรู้และสามารถใหคําแนะนําและอธิบายวิธีใชยาแกผูปวยที่ถูกตองก็ยังสามารถชวยลดปญหาจากการใช้ยาและเพิ่มประสิทธิภาพในการใชยาของผูปวยได้ดีมากขึ้น
3. ทำให้ระบบการคัดลอกคำสั่งยาในหน่วยงานมีความชัดเจนและมีมาตรฐานมากขึ้นและทำให้บุคลากรในหน่วยงานเห็นความสำคัญของการคัดลอกชื่อยา เพราะถ้าคัดลอกยาไม่ถูกต้องจะส่งผลต่อการบริหารยาที่ผิดพลาดไปด้วย
4. ทำให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการใหม่ๆที่มีส่วนในการพัฒนาหน่วยงาน
5. เกิดการประสานงานระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ทำให้มีความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น
กระบวนการเรียนรู้ได้        

เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการนำแนวทางปฏิบัติเรื่องการคัดลอกคำสั่งการรักษาด้วยยาลงมาสู่การปฏิบัติจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น