วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ลดอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งของผู้ป่วยจากการปฏิบัติงานในบุคลากรแผนกผ่าตัด

หน่วยงาน ห้องผ่าตัด
เหตุจูงใจ              
มีการกลับซ้ำของปัญหาในปีงบประมาณ 2550 นี้ จากการสรุปรายงานเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุ สัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง จากการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า
-          บุคลากรที่ปฏิบัติงานในแผนกผ่าตัด ได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งจากการปฏิบัติงานของบุคลากร จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.18
-          บุคลากรแผนกอื่น แต่พบอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งภายในแผนกผ่าตัด จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.63     
* ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ในหน่วยงานโรงพยาบาล
 ข้อมูลก่อนการแก้ไข
ประเภทของบุคลากร
ลักษณะอุบัติเหตุ
คนงาน

พยาบาลวิชาชีพ

พยาบาลวิชาชีพ
พยาบาลวิชาชีพ
แพทย์

แพทย์
แพทย์
ปลายเข็ม Insulin ตำมือ ขณะไปหยิบผ้า Swab เก่าที่ซักแล้ว ใช้Damp ปลายเข็มอยู่ในผ้า
ขณะช่วยแพทย์ผ่าตัดใน case เข็มหนีบอยู่ใน Needle holder วางหงายอยู่ เข็มตำมือ
ขณะรัดสายสะดือเด็ก สารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา
ขณะช่วยแพทย์ใน case ผ่าตัด ถูกเข็มในมือมาตำ
ขณะผ่าตัดกำลัง stop Beeding มือซ้ายไปถูกเข็มซึ่งวางไว้อยู่บริเวณหน้าท้องเกี่ยว
ขณะผ่าตัด ถูกเข็ม Cutting ที่ใช้เย็บชั้นผิวหนังของผู้ป่วยตำมือ
ขณะผ่าตัดเย็บแผล ถูกเข็ม Cutting ที่ใช้เย็บผิวหนัง
วิเคราะห์สาเหตุ (ในหน่วยงาน) จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น
·       พบว่าขณะผ่าตัดเป็นกิจกรรมที่พบอุบัติเหตุจากของมีคมเป็นอันดับ 1
·       การทิ้งของมีคมไม่ถูกที่
·       ไม่ได้สวมเครื่องป้องกัน เช่น แว่นตา ถุงมือยาง
 เป้าหมาย        อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากของมีคมและสารคัดหลั่งจากการปฏิบัติงานบุคลากรในแผนกผ่าตัดลดลงจากเดิมร้อยละ 70
วิธีดำเนินการ
                เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทำให้พบว่า ในการปฏิบัติงานของบุคลากรยังมีช่องโหว่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากของมีคมและสารคัดหลั่ง ซึ่งมีประเด็นหลักคือ การประสานงานในทีมงานผ่าตัดตั้งแต่แพทย์จนถึงพยาบาล จึงเพิ่มเติมวิธีแก้ไขปัญหาจากที่เป็นอยู่ กล่าวคือ
1.      ในทุก case เมื่อส่งของมีคม เข็มเย็บ ให้ Scrub nurse ขานบอกเพื่อร่วมทีมผ่าตัดทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ร่วมทีมผ่าตัดเพิ่มความระมัดระวัง
2.      ขอความร่วมมือจากผู้ร่วมงานในทีมผ่าตัดทุกคน เมื่อวาง Needle holder ที่มีเข็มเย็บติดอยู่ให้ใช้ปากคีบบริเวณส่วนที่คม และบอกผู้ร่วมทีมผ่าตัดทุกครั้ง
3.      เก็บของมีคมออกจากบริเวณผ่าตัดทันที ก่อนส่งเครื่องมืออื่นให้แพทย์
4.      หลังทำการผ่าตัดให้ Scrub nurse เป็นผู้จัดเก็บเครื่องมือที่ใช้แล้ว เพื่อแยกของมีคมใส่ถ้วย Betadine cup หรือ ชามรูปไต พร้อมตรวจสอบจำนวนก่อนส่งไปยังห้องล้างเครื่องมือ
5.      วางแผนจัดซื้อ Needle holder เพิ่ม เพื่อทดแทนของเก่าที่ชำรุด
6.      ไม่นำของชำรุดวนกลับมาใช้ใน Set
7.      เปลี่ยนทันทีเมื่อทราบว่าชำรุด (ในกรณีมี Needle holder ให้เปลี่ยน)
8.      จัดวางตะกร้าใส่แว่นตาไว้บริเวณอ่างล้างมือทุกจุด
9.      จัดหาเครื่องป้องกันร่างกายและให้ความรู้แก่บุคลากร ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องป้องกันร่างกายที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
 ผลที่ได้รับ
1.      มีแนวทางปฏิบัติงานเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งไปในแนวทางเดียวกันทั้งหน่วยงานและปฏิบัติได้จริง
2.      อัตราการเกิดอุบัติการณ์ควรลดลง (ขณะนี้อยู่ในช่วง Moniteiry)
 ปัญหาและอุปสรรค
                ในช่วงแรกต้องทำความเข้าใจกันระหว่างผู้ร่วมงานทุกระดับให้มีแนวทางปฏิบัติในทางเดียวกัน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการแก้ไขปัญหาซึ่งต้องทำเป็นระยะๆจนกลายเป็นปฏิบัติประจำ และมีการนิเทศติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหาสาเหตุและทบทวนวิธีการแก้ไขปัญหาทันที


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น