วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

งานติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา

หน่วยงาน เภสัชกรรม
ปัญหา
1.        มีผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ/ป้องกันแพ้ยาซ้ำ ในปีงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 จำนวน2/26 และ 2/24 ราย ตามลำดับ
2.        มีผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง (TEN ,SJS) ในงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 จำนวน 7 และ 8 ราย ตามลำดับ
 สาเหตุการแพ้ยาซ้ำ
1.      ตัวผู้ป่วย: ขาดความรู้ ขาดความตระหนักในการพกบัตรและจดจำชื่อยาที่แพ้
2.      ระบบของโรงพยาบาล : ขาดการคัดกรองข้อมูล ขาดการส่งต่อข้อมูลแพ้ยา
 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการแพ้ยา
-          การคัดกรองประวัติแพ้ยาของผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ทั้ง IPD และ OPD
-          การส่งต่อข้อมูลการแพ้ยา แก่แพทย์ พยาบาล โดยใช้ OPD Card สีชมพู
-          ลงข้อมูลแพ้ยาและลงชื่อยาที่แพ้บนใบสั่งยา โดยติดสติ๊กเกอร์สีชมพูที่OPD Card โดยใช้Program Popup Alert  เริ่มเดือนสิงหาคม 2550
-          ออกบัตรแพ้ยาโดยวงเล็บชื่อยาภาษาไทย
-          ติดป้ายประกาศเตือนและจัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องแพ้ยา
-          ประสานเจ้าหน้าที่ห้องบัตรเพื่อติดตาม Sticker แพ้ยา และทำหนังสือส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังรพ.ต้นสังกัด
 การเฝ้าระวัง ADR ที่รุนแรง (TEN< SJS)
-          กำหนดรายชื่อยาที่เฝ้าระวัง เช่นยาในกลุ่ม sulfa ยากันชัก ยาเก๊าท์ และยาต้านเชื้อไวรัส
-          ออกบัตรเตือนยาในกลุ่มที่อาจเกิด ADR ที่รุนแรง ในผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย
-          เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากการดำเนินงาน
 ผลการดำเนินงาน
-          ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2550 ถึง ตุลาคม 2550
§  จำนวนผู้ป่วยแพ้ยา = 0
§  ไม่มีผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง
 แผนงานในอนาคต
-          เฝ้าระวังและติดตามผลการเกิด ADR ในผู้ป่วยเพื่อค้นหาปัญหาและพัฒนาต่อเนื่อง
-          ออกบัตรสงสัยแพ้ยา หรืออาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง (บัตรสีชมพู)
-          เฝ้าระวัง ADR ในกลุ่มยา High alert drug ของโรงพยาบาล เช่น KCI , Dilantin

-          ประชาสัมพันธ์เรื่องการแพ้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น