วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เช็ดลิ้น พิทักษ์ฟันน้ำนม

เช็ดลิ้น พิทักษ์ฟันน้ำนม
ประเภทที่ส่งประกวด  Poster Presentation ด้าน HPH
หน่วยงาน            กลุ่มงานทันตกรรม 
ที่มาของปัญหา
            จากการลงไปให้ความรู้สอนทันตสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของทารกหลังคลอดทั้งในแผนกผู้ป่วยหลังคลอดที่ตึกเปี่ยมสุขและคลินิกเด็กพบว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกแรกเกิด คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจและดูแลสุขภาพช่องปากของลูก ก็ต่อเมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้น หรือมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน เช่น ปวดฟัน เจ็บเหงือก แต่ที่จริงแล้ว การดูแลสุขภาพช่องภาพของลูก ควรจะเริ่มตั้งแต่ลูกแรกคลอดออกมา ถึงแม้ฟันจะยังไม่ขึ้นก็ตาม การที่ลูกกินนม  ทำให้ช่องปากของเด็กเริ่มใช้งาน ดังนั้นจึงต้องเช็ดทำความสะอาดช่องปากของลูกอย่างสม่ำเสมอหลังจากกินนม เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และฝ้าบริเวณลิ้นได้
            ดังนั้นกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้สอนการเช็ดทำความสะอาดช่องปากทารกหลังคลอดด้วยการสาธิตเป็นรูปภาพและมีคำอธิบายขั้นการปฏิบัติเป็น 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
            การดำเนินงานการให้ความรู้ทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงหลังคลอดและคลินิกเด็ก สามารถวิเคราะห์ปัญหาดังนี้
1. ด้านเจ้าหน้าที่
- ขาดทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ
- ขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม
2. ด้านสื่อการให้ความรู้ทันตสุขภาพวิธีการดูแลช่องปากของทารก
       - ขาดสื่อที่อธิบายวิธีการเช็ดทำความสะอาดช่องปากทารกที่เป็นแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอัตราการเกิดลิ้นเป็นฝ้าและลดอัตราฟันน้ำนมผุ
2. พ่อแม่และพี่เลี้ยงเด็กมีความรู้และให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากทารกแรกเกิด
กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. ประชุมทีมงานนักอนามัยช่องปาก
2. วิเคราะห์หาสาเหตุ
3. ดำเนินการจัดทำสื่อและแบบทดสอบความรู้
4. นำสื่อและแบบทดสอบไปใช้
5. สรุปผล
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 70 ของหญิงหลังคลอด ตึกเปี่ยมสุข ได้รับความรู้การเช็ดทำความสะอาดช่องปากในเด็กทารกแรกเกิด
2. พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็กใน Well Child clinic ได้รับความรู้การเช็ดทำความสะอาดช่องปากในเด็กอายุ 0 – 5 ปี
3. หญิงหลังคลอดได้ความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
4. พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็กได้ความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1. จำนวนหญิงหลังคลอดที่ได้รับความรู้การทำความสะอาดช่องปากในทารกแรกเกิด จำนวนร้อยละ70
2. จำนวนผู้รับบริการในคลินิกฉีดวัคซีนเด็ก (Well Child clinic) ได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวนร้อยละ 100
3. หญิงหลังคลอดได้ความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.33
4. พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็กได้ความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.12
ระยะเวลาการดำเนินงาน     เดือนพฤษภาคม-ปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรค
1. กลุ่มหญิงหลังคลอด ที่ตึกเปี่ยมสุขในวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการ  และวันที่นักอนามัยช่องปากต้องลงไปดำเนินงานในโรงเรียนจะไม่ได้รับทันตสุขศึกษาการดูแลช่องปากของทารกแรกเกิด ทำให้ขาดข้อมูลหญิงหลังคลอดในกลุ่มดังกล่าว
2. หญิงหลังคลอดที่พักรักษาที่ตึกนวมินทร์และห้องพิเศษต่างๆ จะไม่ได้รับทันตสุขศึกษาการดูแลช่องปากของทารกแรกเกิด ทำให้ขาดข้อมูลหญิงหลังคลอดในกลุ่มดังกล่าว
3. ผู้รับบริการในคลินิกฉีดวัคซีนเด็ก (Well Child clinic) ไม่มารับบริการตามนัด ทำให้การติดตามผลในกลุ่มอายุ 0-5 ปี ขาดความต่อเนื่องไปด้วย
4. ผู้ปกครองและพี่เลี้ยงเด็กร้อยละ 48 มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง
โอกาสพัฒนาต่อเนื่อง
1. ขยายผลการดำเนินงานสู่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง สี่มุมเมืองของเทศบาลเมืองนราธิวาส ให้มีการดำเนินงานให้ไปในแนวทางเดียวกันเพื่อลดอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุในจังหวัดนราธิวาสต่อไป

2. ประสานงานกับกลุ่มงานเวชกรรมสังคม กายภาพบัด และสหวิชาชีพต่างๆ ดำเนินกิจกรรมเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากของผู้รับบริการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น