วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แผนพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia

แผนพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia
หน่วยงาน            ตึกเปี่ยมสุข 3 สามัญ (Nursery)
ประเภท             Oral presentation ประเภท clinic
ที่มาของและความสำคัญของปัญหา
            ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Neonatal hyperbilirubinemia) เป็นภาวะที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญ ต้องให้การวินิจฉัย และรักษาในเวลาที่เหมาะสม หากวินิจฉัยไม่ได้หรือมาพบแพทย์เมื่อพ้นระยะเวลาที่จะรักษาได้ผลดี ย่อมส่งผลให้ทารกมีอาการมาก หรือสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะบางอวัยวะ จนไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ จึงเป็นอีกปัญหาที่ควรได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้พ้นจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
            ตึกเปี่ยมสุข 3 สามัญ (Nursery) เป็นตึกที่ดูแลทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤตและทารกแรกเกิดทั่วไป ที่รับจากหอผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลและส่งต่อจากโรงพยาบาลเครือข่ายภายในจังหวัด โดยรับทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองเป็นโรคอันดับหนึ่ง ใน 5 อันดับโรค ซึ่งถือว่าเป็นทารกกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้และสามารถประเมินปัญหาทารกของทารกกลุ่มเสียงเหล่านี้ได้ ทางหน่วยงานได้มีการใช้แบบประเมินทารกแรกเกิดที่มีปัญหาตัวเหลือง โดยใช้ Care map photo ซึ่งทำออกมาโดยแพทย์PCT กุมารเวชกรรม ซึ่งการใช้ Care map photo ร่วมกับการบันทึกทางการพยาบาล วิเคราะห์แล้ว เห็นว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อน ขาดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการให้การพยาบาล จึงมีการปรับเปลี่ยน Care map photo มาเป็นแบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดภาระงานด้านคุณภาพ ทางด้านการบันทึกทางการพยาบาล
2. สามารถให้การพยาบาลได้ตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
วิธีการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
1. ปรึกษาหารือกับคณะทีมพยาบาลในหน่วยงาน เปี่ยมสุข 3
2. วิเคราะห์ปัญหาพร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข
ขั้นดำเนินการ
1. สืบค้นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์
2. ทบทวนวิชาการเรื่อง Neonatal hyperbilirubinemia
3. พัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia โดยให้สอดคล้องกับการพยาบาลและครอบคลุมปัญหา
4. ดำเนินการทดลองใช้
ขั้นตอนประเมินผล
ประเมินผลจากความพึงพอใจจากผู้ที่ทดลองใช้ แบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia
เครื่องชี้วัด
             - ประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้แบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia
 ระยะเวลาการดำเนินงาน
            1 พฤษภาคม 2556 ปัจจุบัน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1. ทารกได้รับการดูแล Neonatal hyperbilirubinemia ที่ถูกต้อง สมบูรณ์
2. ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลสอดคล้องกับสภาพของทารกสมบูรณ์และครบถ้วน
3. ระยะเวลาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลลดลงสามารถใช้เวลาดูแลทารกได้มากขึ้น
ปัญหา อุปสรรค
            1. การจัดรูปแบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia มีการปรับใช้หลายครั้ง
            2. ระยะเวลาดำเนินการน้อย ยังทั้งยังขาดความรู้
            3. ขาดที่ปรึกษาในการดำเนินงานครั้งนี้
โอกาสพัฒนาต่อเนื่อง
1. พัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาล Neonatal hyperbilirubinemia ให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับและใช้งานได้จริง

2. สามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลในโรคต่างๆ เพื่อพัฒนางานคุณภาพของโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น