วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชื่อคนไข้ “เห็นง๊ายง่าย อ่านสะดวก”

ชื่อคนไข้ “เห็นง๊ายง่าย อ่านสะดวก”
หน่วยงาน            หอผู้ป่วย RCU
ที่มาของปัญหา
            หอผู้ป่วย RCU มีการหมุนเวียนเตียงผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายชื่อผู้ป่วยประจำวันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งผู้ป่วยที่รับไว้ในหอผู้ป่วยRCU มีหลากหลายสาขา ได้แก่ ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ อายุรกรรรม  ทันตกรรม ฯลฯ รวมถึงข้อมูลเรื่องสิทธิ การรักษาและข้อมูลการจองห้องพิเศษที่แตกต่างกัน ในหอผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้เกิดปัญหาล่าช้าในการประสานงาน และการตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วย แผนกที่ดูแล สิทธิการรักษาและข้อมูลจองห้องพิเศษ
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
            ไมได้บันทึกข้อมูลที่ต้องการให้ครบถ้วนในแบบบันทึกใบเดียวกัน
แบบเดิม
1. บันทึกการจองห้องพิเศษ สิทธิการรักษาโดยติดหน้า chart ทำให้ช้าเสียเวลาในการตรวจสอบ โดยเฉพาะกรณีที่แพทย์ใช้ chartนั้นอยู่อยู่หรือนำ chartออกไปนอกหน่วยงาย
2. การแยกสาขาโรค ตรวจสอบจากป้ายชื่อหน้า chart ซึ่งสื่อด้วยกระดาษสี โดยต้องตรวจสอบทีละ chart ทำให้มีความยุ่งยากในการสรุปยอดผู้ป่วยประจำเวร เกี่ยวกับการแยกสาขาโรคของผู้ป่วย ซึ่งบางเวรถูกละเลยไม่ได้บันทึกในส่วนนี้ (เดิมอัตราความสมบูรณ์ของการบันทึกเฉลี่ย 70%)
วัตถุประสงค์
1. ลดระยะเวลาการตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย
2. สะดวก รวดเร็วในการตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วย สิทธิการรักษา สาขาโรคของผู้ป่วย และการจองห้องพิเศษ
3. เพื่อป้องกันความผิดพลาดในรายชื่อผู้ป่วย
4. ลงบันทึกการสรุปยอดประจำเวรอย่างครบถ้วน
วิธี/กิจกรรมที่ดำเนินงาน
1. จัดทำรายชื่อขนาดเท่ากระดาษ F4 แบ่งเป็นตาราง ระบุหมายเลขเตียงและหมายเลขห้องชัดเจน รวมทั้งมีตารางให้บันทึกเรื่องสิทธิการรักษาและการจองห้องพิเศษ
2. ใช้สติ๊กเกอร์ป้ายชื่อผู้ป่วยติดลงในตารางให้ตรงกับหมายเลขเตียงและหมายเลขห้อง
3. ระบุสาขาโรคของผู้ป่วย โดยเขียนด้วยปากกาสีน้ำเงินบนสติ๊กเกอร์ป้ายชื่อผู้ป่วยด้านบนมุมขวา
4. ระบุสิทธิการรักษาให้ตรงกับหมายเตียงและหมายเลขห้องของผู้ป่วยแต่ละรายด้วยดินสอ (เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสามารถลบได้)
5. ในกรณีที่มีการจองห้องพิเศษให้ขีดเครื่องหมาย / และระบุห้องแอร์หรือพัดลมด้วยดินสอ (เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสามารถลบได้)
6. มอบหมายให้ Incharge ตรวจสอบป้ายชื่อผู้ป่วยและข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน
หมายเหตุ
            กรณีผู้ป่วยจำหน่าย ให้เขียนเครื่องหมายกากบาทด้วยปากกาสีแดงทับบนสติ๊กเกอร์รายชื่อผู้ป่วยรายนั้น และเมื่อมีผู้ป่วยรับใหม่เข้ามาให้ใช้สติ๊กเกอร์ชื่อผู้ป่วยรายใหม่ติดทับสติ๊กเกอร์เดิม
Flow chart แสดงขั้นตอนการดำเนินงาน
                    ออกแบบใบบันทึกรายชื่อผู้ป่วย  
                      จัดทำใบบันทึก  
                     นำไปทดลองใช้  
             สอบถามความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ 

เครื่องชี้วัด
1. อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน > 95%
2. ระยะเวลาตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยได้ใน 3 นาที
3. บันทึกการสรุปยอดผู้ป่วยประจำเวรได้ครบถ้วน 100%
ระยะเวลาการดำเนินงาน
            1 มกราคม 2556 – 30 เมษายน 2556
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1. อัตราความพึงพอใจของจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน = 100%
2. ระยะเวลาตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยภายใน 1-3 นาที
3. ความครบถ้วนของการสรุปยอดผู้ป่วยประจำเวร = 95%
บทเรียนที่ได้รับ
            เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีม
ปัญหา อุปสรรค
1. เมื่อมีการหมุนเวียนเตียงจะต้องมีการเปลี่ยนป้ายชื่อผู้ป่วยในทันที ถ้าลืมจะทำให้ชื่อผู้ป่วยผิดพลาดได้
2. การวางแผ่นป้ายชื่อผู้ป่วยไม่เป็นที่ ทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบข้อมูล
โอกาสพัฒนาต่อเนื่อง

            จัดทำป้ายชื่อให้คงทนถาวรกว่าเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น