วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ห้องน้ำรักษ์โลก

ห้องน้ำรักษ์โลก
หน่วยงาน  อายุรกรรมชาย
ความเป็นมา
            ส้วมเป็นที่ถ่ายอุจาระและปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยและญาติสามารถเข้าได้ตลอดเวลาวามเป็นมา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการสาธารณสุขร่วมใจ รณรงค์ลดโลกร้อนด้วยสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักสุขาภิบาลที่ดี โดยดำเนินกิจกรรม  GREEN & CLEAN และแบบประเมิน HAS  
            หน่วยงานอายุรกรรมชายได้รับการประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจ  พบด้านที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ  ห้องน้ำ-ห้องส้วมไม่สะอาด  มีคะแนนเฉลี่ยที่ 60% เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความประทับใจและการพัฒนาการทำงานเป็นทีม  กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานทุกคนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมา  โดยการคำนึงถึงบริการสุขภาพที่น่าไว้วางใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยและสุขภาพของผู้รับบริการ ตามหลักการของบริการสุขภาพที่น่าไว้วางใจ (High Reliability Healthcare)
สาเหตุ    ห้องน้ำ-ห้องส้วมสกปรก มีกลิ่น โดยเฉพาะเวลากลางคืนเนื่องจาก
1. ผู้ป่วยและญาติขาดความเข้าใจในการใช้ห้องน้ำ
2. พื้นห้องน้ำเปียกจาการราดน้ำเพื่อทำละหมาด
3. ไม่มีพนักงานทำความสะอาดในเวลากลางคืน
4. พบส้วมชักโครกอุดตันบ่อย
วัตถุประสงค์        1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงาน
                        2. ส่งเสริมให้มีการจัดสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่เอื้อต่อสุขภาพ
                        3. เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ
ตัวชี้วัด               1. ส้วมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS
                        2. คะแนนความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านห้องส้วม-ห้องน้ำ >80%
ระยะเวลาดำเนินการ          1 เมษายน 2556 – 10 พฤษภาคม 2556
สถานที่ดำเนินการ ห้องน้ำผู้ป่วยสามัญ  ตึกอายุรกรรมชาย
ขั้นตอนการดำเนินการ
            1.จัดประกวดชื่อโครงการในหน่วยงาน  เพื่อกระตันให้ทุกคนมีส่วนร่วม
            2.ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้ส้วมและสาระน่ารู้อื่นๆ

            3.เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดห้องน้ำ/เน้นขั้นตอนการทำความสะอาดห้องน้ำที่ถูกต้อง
ตารางการปฏิบัติงาน
ตาราง
กิจกรรม
ความถี่
ถังขยะ
ทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก
อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
พื้น

ขัด,ถู, ฉีดล้าง
ม็อบแห้งด้วยผ้าชุบน้ำ
วันละ 1 ครั้ง
วันละ 4 ครั้ง
โถส้วม

ขัดถูด้วยแปรง
เช็ดถูหัวฉีด,สายฉีด,ที่กดน้ำ
วันละ 1 ครั้ง
วันละ 1 ครั้ง
กระจก/อ่างล้างมือ/ก๊อกน้ำ
เช็ดถูด้วยสก๊อตไบรท์
วันละ 1 ครั้ง
ขวดใส่สบู่เหลว
เช็ดล้างและเติมสบู่
อาทิตย์ละ 1 ครั้ง

            4. นำสมุนไพรที่เพิ่มกลิ่นน่าใช้ เช่น ใบเตย มะกรูด
            5. จัดให้มีพื้นที่สีเขียวในห้องน้ำ  โดยการนำต้นไม้มาประดับ เลือกต้นไม้ที่ต้องการแสงน้อยและสามารถดูดซับคาร์บอนมอนอกไซด์ แต่ปล่อยออกซิเจนทั้งกลางวันและกลางคืน ได้แก่ ต้นลิ้นมังกร พลูด่าง เป็นต้น
            6. ลดการใช้สารเคมีในการทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ โดยเปลี่ยนมาใช้  น้ำยา EM
ผลลัพธ์
1. แบบสอบถามความพึงพอใจด้านห้องน้ำ-ห้องส้วมสะอาด เพิ่มขึ้นเป็น 76%
2. เกณฑ์การประเมิน HAS ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ยกเว้นกระดาษชำระที่ไม่มี
ปัญหาอุปสรรค
1. พื้นห้องน้ำมีน้ำขังเนื่องจากผู้ป่วยและญาติใช้น้ำราดเพื่อละหมาด
2. ไม่มีพนักงานทำความสะอาดในเวลากลางคืน
3. พบขยะอยู่ในกระถางต้นไม้ทุกวัน
4. ขาดกระดาษชำระ ตามเกณฑ์การประเมิน HAS
ข้อเสนอแนะ
1. ควรกำหนดเวลาการเปลี่ยนน้ำในแจกัน เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
2. มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบดูแลต้นไม้ที่ชัดเจน โดยการจัดให้พนักงานทั่วไปเป็นผู้ดูแลประจำวัน เพื่อป้องกันการซุกซ่อนของวัตถุต้องสงสัย
3. ให้ทีม HAS เป็นผู้มาประเมิน
โอกาสพัฒนา
1. จัดให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆของหน่วยงาน เช่น ห้องพิเศษ ระเบียงหลังตึก หน้าตึก            
2. เปิดโอกาสให้ญาติมีส่วนร่วมในการนำพืชสมุนไพรต่างๆ มาจัดที่ลานหน้าตึก  แล้วให้ความรู้ของสรรพคุณพืชสมุนไพร          

3. นำหลักการ Healing  Environment มาประยุกต์ใช้ เช่น การใช้สีเขียวในห้องผู้ป่วยเหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น