วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ผ้าห่อเด็ก เชื่อมสัมพันธ์แม่ -ลูก

ผ้าห่อเด็ก เชื่อมสัมพันธ์แม่ -ลูก
หน่วยงาน    ตึกเปี่ยมสุข 1   (5511)
ที่มาของปัญหา                
เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และกระตุ้นการสร้างและการหลั่งของน้ำนม    แม่โดยเร็ว   โดยทางห้องคลอดได้ดูแลให้ลูกดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด   ซึ่งได้ปฏิบัติกับทารกหลังคลอด  ที่คลอดในห้องคลอดทุกรายได้แก่  คลอดปกติ  คลอดโดยใช้คีม  เครื่องดูดสูญญากาศ  คลอดท่าก้น  ทารกครรภ์แฝด  ตรวจสอบจาก Apgar score  นาทีที่ 5 ได้ 10 คะแนน ซึ่งพบว่ามารดาหลังคลอดบางราย ขาดความมั่นใจในการอุ้มให้เด็กดูดนม หรือออาจได้รับยาระงับการปวดก่อนคลอด  ทำให้ระยะเวลาในการให้ดูดนมได้น้อย  จึงเป็นที่มาของการจัดนวัตกรรม ผ้าห่อเด็กเชื่อมสัมพันธ์แม่ -ลูก
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา        
1. ผู้คลอดครรภ์แรกขาดความรู้ในการให้นมบุตร
2. ผู้คลอดขาดความมั่นใจในการอุ้มให้นมบุตรหลังคลอดทำให้ระยะเวลาให้นม   บุตรน้อยกว่า 30 นาที
3. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจต่อหญิงหลังคลอดในการให้นมบุตร
วัตถุประสงค์                   
1. ผู้คลอดมีความรู้ในการให้นมบุตร  รู้ถึงวิธีการอุ้ม  การอมที่ถูกต้อง
2. เพื่อกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดมั่นใจในการให้นมบุตร
3. เพื่อกระตุ้นสายสัมพันธ์แม่-ลูกภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
4. ระยะเวลาในการให้นมบุตรมากกว่า 30 นาที
5. สร้างความพึงพอใจให้หญิงหลังคลอดมากขึ้น
วิธี/กิจกรรมที่ดำเนินการ                
1. ประชุมทีมงานเพื่อปรึกษาและวางแผนการดำเนินงาน
2. ร่วมกันออกแบบผ้าห่อเด็ก  เชื่อมสัมพันธ์แม่-ลูก


3. เตรียมความรู้เจ้าหน้าที่ในการดูแลหญิงหลังคลอดในการให้ลูกดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
เครื่องชี้วัด                     
1. มารดาและทารกหลังคลอดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน  ได้ดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
2. ร้อยละ   80  ของหญิงหลังคลอดให้บุตรดูดนมมารดานาน  30  นาที
3. ร้อยละ  80  ของหญิงหลังคลอด  มีความพึงพอใจในการให้บุตรดูดนมหลังคลอด
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น                          
1. หญิงหลังคลอด ให้บุตรดูดนมมารดาภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดนาน 30 นาที ได้  72.67%
2. หญิงหลังคลอด  พึงพอใจในการให้บุตรดูดนมหลังคลอด  86%
บทเรียนที่ได้รับ                            
หญิงหลังคลอดที่ให้บุตรดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอดเพื่อสร้าง ความผูกพัน ความรัก และ ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นระหว่างลูกน้อยกับคุณแม่   เป็นช่วงเวลาทองที่ลูกจะรับรู้ได้ทันที และ ยังเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่สร้างน้ำนมได้มากและเร็วขึ้นอีกด้วย
ปัญหาและอุปสรรค                      
1.หญิงหลังคลอดที่ได้รับยาแก้ปวดก่อนคลอด  จะรู้สึกสลึมสลือทำให้ขาดความมั่นใจในการให้บุตรดูดนม
2.เจ้าหน้าที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บุตรดูดนมมารดาภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดนานมากกว่า  30 นาที
โอกาสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 
1.จัดทำผ้าห่อเด็ก  เชื่อมสัมพันธ์แม่-ลูก  ให้มีปริมาณเพียงพอ

2. เพื่อนำไปขยายผล  ร่วมกับ PCT โรงพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กในเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น