วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผลงานวิชาการ ที่ได้รับรางวัลประจำปี 2558

ผลงานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้รับรางวัลประจำปี 2558

ระดับจังหวัด
ที่
     รางวัล
ชื่อ -สกุล
หน่วยงาน
ชื่อเรื่อง
ประเภท
1.
ชนะเลิศ
นางกนกรัตน์  ขานโบ
CCU

(บุคลากรดีเด่น)
2.
รองชนะเลิศอันดับ 2
นางจารุณี  จันทสุวรรณ์
เปี่ยมสุข 4

(บุคลากรดีเด่น)
3.
ชนะเลิศ
นางอุทัย  ขวัญแก้ว
OPD
ต้องตรวจภายใน
OPD
4.
รองชนะเลิศอันดับ 1
ภก.นพดล  พลานุกูลวงศ์
เภสัชกรรม
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านยาในคลินิคฮีโมฟีเลีย
Oral
5.
รองชนะเลิศอันดับ 1
น.ส.วัสสิยา  ใจเรือง
ประชารักษ์ 1
เหล็กพยุงแขน ขา
Poster
นวัตกรรม
6.
รองชนะเลิศอันดับ 2
นางจามรี  รัตนอุดม
เวชกรรมสังคม
บอมอ...โคกศิลา
หนังสั้น

ระดับเขต
ที่
รางวัล
ชื่อ -สกุล
หน่วยงาน
ชื่อเรื่อง
ประเภท
1.
ชนะเลิศ
นายธนากร  แซ่ลีมา
ประชารักษ์ 1
เหล็กพยุงแขน ขา
Poster
นวัตกรรม
2.
รองชนะเลิศอันดับ 2
นางจามรี  รัตนอุดม
เวชกรรมสังคม
บอมอ...โคกศิลา
หนังสั้น

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พัฒนา Elective case ที่ Set หลัง 15.00 น. ได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัดใน PCT ศัลยกรรม

หน่วยงาน วิสัญญี
เป้าหมาย
-          ผู้ป่วย Elective case ได้รับการตรวจเยี่ยมก่อนผ่าตัด >80%
 ปัญหา
-          ผู้ป่วย Elective case ที่ Set หลังเวลา 15.00 น. ไม่ได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัด
ข้อมูลก่อนการแก้ปัญหา
                ข้อมูลจากเดือนตุลาคม 2549  เดือนมกราคม 2550 แสดงให้เห็นถึงอัตราการ Set ผ่าตัด Elective case หลัง 15.00 น. จากทั้งเดือนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
                โดยในเดือนตุลาคม 2549 มีจำนวนร้อยละ 23.97 เดือนพฤศจิกายนมีจำนวนร้อยละ 26.20 เดือนธันวาคมมีจำนวนร่อยละ 31.20 และในเดือนมกราคม 2550มีจำนวนร้อยละ 29.40 ตามลำดับ
                ข้อมูลดังกล่าวทำให้อัตราการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ (>80%) ดังนี้ เดือนตุลาคม 2549 เยี่ยมก่อนผ่าตัดร้อยละ 76.03 เดือนพฤศจิกายน 2549 ร้อยละ 73.80 เดือนธันวาคม 2549 ร้อยละ 68.80 และเดือนมกราคม 2550ร้อยละ 70.60
 กำหนดแนวทางปฏิบัติ
                กลุ่มงานวิสัญญีพยาบาลได้ดำเนินการแก้ปัญหาในรูปแบบ CQI โดยการผลักดันปัญหาดังกล่าวเข้าสู่ PCT ศัลยกรรมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้
1.      ปรับปรุงใบ Set ผ่าตัด โดยเพิ่มช่องเวลาที่มา Set ผ่าตัดกับแผนกผ่าตัด
2.      ให้กดกริ่งเรียกพนักงานประจำแผนกผ่าตัดทุกครั้งกรณีไม่พบผู้รับ Set ผ่าตัด
3.      สามารถ Set ผ่าตัดทางโทรศัพท์ได้ในกรณีใกล้เวลา 15.00 น.
4.      พยาบาลแผนกผ่าตัดที่ Set ผ่าตัดให้ขึ้นกระดานด้วยปากกาสีแดงในรายที่ Set หลัง15.00น.
5.      มีเกณฑ์การจำแนกผู้ป่วยเป็นลายลักษณ์ที่ชัดเจน (ดูเอกสารประกอบ)
6.      หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ พยาบาลประจำหอผู้ป่วย ให้ข้อมูลการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแก่ผู้ป่วย อย่างเช่น หลังจากแพทย์ทำการตรวจและผ่าตัด ให้ผู้ป่วยรีบเข้าตึกและแจ้งให้พยาบาลทราบเพื่อรับคำแนะนำ และการรักษาพยาบาล ก่อนไปทำธุระที่อื่น เป็นต้น
7.      วิสัญญีพยาบาลทำการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยทุกรายที่ Set ผ่าตัดหลัง 15.00 น. เพื่อวางแผนการให้ยาระงับความรู้สึก
 สรุปผล  ผลทางตรง
ปัญหา
ก่อนแก้ปัญหา
หลังแก้ปัญหา
เป้าหมาย
ผลการปรับปรุง
- ผู้ป่วย Elective   case หลังเวลา 15.00 น. ไม่ได้รับการตรวจเยี่ยมก่อนผ่าตัด
72.31%
83.79%
>80%
ผู้ป่วยได้รับการตรวจเยี่ยมก่อนผ่าตัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.48
 ผลทางอ้อม
                ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวก่อนระหว่างและหลังได้รับยาระงับความรู้สึก พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดได้
 แผนการดำเนินงาน

                พัฒนา Elective case ที่ Set หลัง 15.00 น. ได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัด ใน PCT เพื่อให้ผู้ป่วย Elective case ได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัดมากขึ้น

ลดอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งของผู้ป่วยจากการปฏิบัติงานในบุคลากรแผนกผ่าตัด

หน่วยงาน ห้องผ่าตัด
เหตุจูงใจ              
มีการกลับซ้ำของปัญหาในปีงบประมาณ 2550 นี้ จากการสรุปรายงานเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุ สัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง จากการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า
-          บุคลากรที่ปฏิบัติงานในแผนกผ่าตัด ได้รับอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งจากการปฏิบัติงานของบุคลากร จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.18
-          บุคลากรแผนกอื่น แต่พบอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งภายในแผนกผ่าตัด จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.63     
* ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ในหน่วยงานโรงพยาบาล
 ข้อมูลก่อนการแก้ไข
ประเภทของบุคลากร
ลักษณะอุบัติเหตุ
คนงาน

พยาบาลวิชาชีพ

พยาบาลวิชาชีพ
พยาบาลวิชาชีพ
แพทย์

แพทย์
แพทย์
ปลายเข็ม Insulin ตำมือ ขณะไปหยิบผ้า Swab เก่าที่ซักแล้ว ใช้Damp ปลายเข็มอยู่ในผ้า
ขณะช่วยแพทย์ผ่าตัดใน case เข็มหนีบอยู่ใน Needle holder วางหงายอยู่ เข็มตำมือ
ขณะรัดสายสะดือเด็ก สารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา
ขณะช่วยแพทย์ใน case ผ่าตัด ถูกเข็มในมือมาตำ
ขณะผ่าตัดกำลัง stop Beeding มือซ้ายไปถูกเข็มซึ่งวางไว้อยู่บริเวณหน้าท้องเกี่ยว
ขณะผ่าตัด ถูกเข็ม Cutting ที่ใช้เย็บชั้นผิวหนังของผู้ป่วยตำมือ
ขณะผ่าตัดเย็บแผล ถูกเข็ม Cutting ที่ใช้เย็บผิวหนัง
วิเคราะห์สาเหตุ (ในหน่วยงาน) จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น
·       พบว่าขณะผ่าตัดเป็นกิจกรรมที่พบอุบัติเหตุจากของมีคมเป็นอันดับ 1
·       การทิ้งของมีคมไม่ถูกที่
·       ไม่ได้สวมเครื่องป้องกัน เช่น แว่นตา ถุงมือยาง
 เป้าหมาย        อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากของมีคมและสารคัดหลั่งจากการปฏิบัติงานบุคลากรในแผนกผ่าตัดลดลงจากเดิมร้อยละ 70
วิธีดำเนินการ
                เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทำให้พบว่า ในการปฏิบัติงานของบุคลากรยังมีช่องโหว่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากของมีคมและสารคัดหลั่ง ซึ่งมีประเด็นหลักคือ การประสานงานในทีมงานผ่าตัดตั้งแต่แพทย์จนถึงพยาบาล จึงเพิ่มเติมวิธีแก้ไขปัญหาจากที่เป็นอยู่ กล่าวคือ
1.      ในทุก case เมื่อส่งของมีคม เข็มเย็บ ให้ Scrub nurse ขานบอกเพื่อร่วมทีมผ่าตัดทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ร่วมทีมผ่าตัดเพิ่มความระมัดระวัง
2.      ขอความร่วมมือจากผู้ร่วมงานในทีมผ่าตัดทุกคน เมื่อวาง Needle holder ที่มีเข็มเย็บติดอยู่ให้ใช้ปากคีบบริเวณส่วนที่คม และบอกผู้ร่วมทีมผ่าตัดทุกครั้ง
3.      เก็บของมีคมออกจากบริเวณผ่าตัดทันที ก่อนส่งเครื่องมืออื่นให้แพทย์
4.      หลังทำการผ่าตัดให้ Scrub nurse เป็นผู้จัดเก็บเครื่องมือที่ใช้แล้ว เพื่อแยกของมีคมใส่ถ้วย Betadine cup หรือ ชามรูปไต พร้อมตรวจสอบจำนวนก่อนส่งไปยังห้องล้างเครื่องมือ
5.      วางแผนจัดซื้อ Needle holder เพิ่ม เพื่อทดแทนของเก่าที่ชำรุด
6.      ไม่นำของชำรุดวนกลับมาใช้ใน Set
7.      เปลี่ยนทันทีเมื่อทราบว่าชำรุด (ในกรณีมี Needle holder ให้เปลี่ยน)
8.      จัดวางตะกร้าใส่แว่นตาไว้บริเวณอ่างล้างมือทุกจุด
9.      จัดหาเครื่องป้องกันร่างกายและให้ความรู้แก่บุคลากร ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องป้องกันร่างกายที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
 ผลที่ได้รับ
1.      มีแนวทางปฏิบัติงานเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากของมีคม และสารคัดหลั่งไปในแนวทางเดียวกันทั้งหน่วยงานและปฏิบัติได้จริง
2.      อัตราการเกิดอุบัติการณ์ควรลดลง (ขณะนี้อยู่ในช่วง Moniteiry)
 ปัญหาและอุปสรรค
                ในช่วงแรกต้องทำความเข้าใจกันระหว่างผู้ร่วมงานทุกระดับให้มีแนวทางปฏิบัติในทางเดียวกัน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการแก้ไขปัญหาซึ่งต้องทำเป็นระยะๆจนกลายเป็นปฏิบัติประจำ และมีการนิเทศติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหาสาเหตุและทบทวนวิธีการแก้ไขปัญหาทันที


งานติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา

หน่วยงาน เภสัชกรรม
ปัญหา
1.        มีผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ/ป้องกันแพ้ยาซ้ำ ในปีงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 จำนวน2/26 และ 2/24 ราย ตามลำดับ
2.        มีผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง (TEN ,SJS) ในงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 จำนวน 7 และ 8 ราย ตามลำดับ
 สาเหตุการแพ้ยาซ้ำ
1.      ตัวผู้ป่วย: ขาดความรู้ ขาดความตระหนักในการพกบัตรและจดจำชื่อยาที่แพ้
2.      ระบบของโรงพยาบาล : ขาดการคัดกรองข้อมูล ขาดการส่งต่อข้อมูลแพ้ยา
 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการแพ้ยา
-          การคัดกรองประวัติแพ้ยาของผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ทั้ง IPD และ OPD
-          การส่งต่อข้อมูลการแพ้ยา แก่แพทย์ พยาบาล โดยใช้ OPD Card สีชมพู
-          ลงข้อมูลแพ้ยาและลงชื่อยาที่แพ้บนใบสั่งยา โดยติดสติ๊กเกอร์สีชมพูที่OPD Card โดยใช้Program Popup Alert  เริ่มเดือนสิงหาคม 2550
-          ออกบัตรแพ้ยาโดยวงเล็บชื่อยาภาษาไทย
-          ติดป้ายประกาศเตือนและจัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องแพ้ยา
-          ประสานเจ้าหน้าที่ห้องบัตรเพื่อติดตาม Sticker แพ้ยา และทำหนังสือส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังรพ.ต้นสังกัด
 การเฝ้าระวัง ADR ที่รุนแรง (TEN< SJS)
-          กำหนดรายชื่อยาที่เฝ้าระวัง เช่นยาในกลุ่ม sulfa ยากันชัก ยาเก๊าท์ และยาต้านเชื้อไวรัส
-          ออกบัตรเตือนยาในกลุ่มที่อาจเกิด ADR ที่รุนแรง ในผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย
-          เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากการดำเนินงาน
 ผลการดำเนินงาน
-          ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2550 ถึง ตุลาคม 2550
§  จำนวนผู้ป่วยแพ้ยา = 0
§  ไม่มีผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง
 แผนงานในอนาคต
-          เฝ้าระวังและติดตามผลการเกิด ADR ในผู้ป่วยเพื่อค้นหาปัญหาและพัฒนาต่อเนื่อง
-          ออกบัตรสงสัยแพ้ยา หรืออาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง (บัตรสีชมพู)
-          เฝ้าระวัง ADR ในกลุ่มยา High alert drug ของโรงพยาบาล เช่น KCI , Dilantin

-          ประชาสัมพันธ์เรื่องการแพ้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาล

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กล่องอันตราย OR

กล่องอันตราย OR
หน่วยงาน  ห้องผ่าตัด
ที่มาของปัญหา
ในสถานการณ์ปัจจุบันเหตุความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากที่มีอาการที่ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เช่น การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง  ทรวงอก  เป็นต้น ซึ่งเป็นหัตถการที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ไหมที่ติดเข็มเย็บจำนวนมาก ทั้งชนิดและขนาดที่แตกต่างกัน  พยาบาลส่งเครื่องมือจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่ก่ออันตรายจากวัสดุแปลกปลอมตกค้างภายในแผลผ่าตัด โดยมีแนวปฏิบัติในการตรวจนับเครื่องมือของมีคม ผ้าซับโลหิต เข็มเย็บจำนวนมาก ทั้งชนิดและขนาดที่แตกต่างกัน  จึงต้องแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ และการนับจำนวนการ
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
1. ไม่มีภาชนะใส่เข็มที่ใช้กับผู้ป่วย
2. เข็มที่เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคและใช้กับผู้ป่วยแล้ว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีกล่องเก็บเข็มใช้ในการผ่าตัดใหญ่ ยุ่งยากซับซ้อนที่ใช้วัสดุผูกเย็บเป็นจำนวนมาก
2. เพื่อความสะดวก ปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมและจากการถูกเข็มตำ
วิธีการดำเนินงาน
1. ศึกษาข้อมูลแนวทางดำเนินการจัดเก็บเข็มของสถาบันอื่นๆ
2. เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
                        2.1 กล่องเก็บแผ่นแก้วสไลด์ที่ใช้แล้วจากห้องเซลล์รักษา ขนาด 9.5*7.5 cm.
2.2 แผ่นฟองน้ำรองวัสดุการแพทย์ที่เหลือใช้
            2.3 ไม้บรรทัด
2.4 กระดาษกาวสองหน้า    
2.5  ปากกา
3.วิธีการประดิษฐ์
                        3.1 นำไม้บรรทัดมาวัดขนาดแผ่นฟองน้ำให้เท่ากับกล่องเก็บแผ่นแก้วสไลด์
                        3.2 ใช้กรรไกรตัดฟองน้ำให้ได้ขนาดที่วัด
                        3.3 ใช้กระดาษกาวสองหน้าความยาวเท่ากับแผ่นฟองน้ำยึดแผ่นฟองน้ำให้ติดกับกล่อง
                        3.4 นำกระดาษกาวสองหน้าตัดให้ได้ความยาวของกล่อง นำมาติดด้านล่างของกล่อง เมื่อจะใช้งานจึงแกะกาวสองหน้าอีกด้านหนึ่งออกแล้วนำมาติดกับถาดส่งเครื่องมือ
                        3.5 นำกล่องที่ประดิษฐ์เสร็จไปทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีอบแก็ส
เครื่องชี้วัด     อุบัติการณ์ เข็มและของมีคมหล่นหาย = 0
ระยะเวลาการดำเนินงาน     1 กุมภาพันธ์2556
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.       ช่วยลดการปนเปื้อนของเข็ม และของมีคมจากผู้ป่วย
2.       ทำให้การจัดเก็บเข็มและของมีคมเป็นระเบียบเรียบร้อย
 บทเรียนที่ได้รับ
            ทีมผ่าตัดมีความพึงพอใจในผลงานกล่องเก็บเข็ม
ปัญหาและอุปสรรค
กล่องเก็บเข็มนำมาจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่นกล่องเก็บแผ่นสไลด์ในห้องปฏิบัติซึ่งมีขนาดเดียว และจำนวนไม่เพียงพอฟองน้ำที่รองวัสดุทางการแพทย์ มักจะมีสีดำ, น้ำเงิน และไม่อ่อนนุ่มพอ
โอกาสพัฒนาต่อเนือง

            กล่องเก็บเข็มที่ประดิษฐ์นั้นมีขนาดเดียว ฟองน้ำที่นำมาใช้มีสีดำ,น้ำเงิน  หากมีการพัฒนาใหม่ให้มีหลายขนาด เลือกใช้แผ่นโฟมชนิดบางนำมาตีตารางแบ่งช่องจะช่วยในการแยกชนิดของใหม่ได้ง่ายขึ้น และแผ่นโฟมบางมีความอ่อนนุ่มเหมาะในการปักเข็ม ซึ่งอาจมีผลต่อความคมของเข็มเย็บ