วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังทารกเสียชีวิตในครรภ์

การเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังทารกเสียชีวิตในครรภ์
หน่วยงาน            ANC
ประเภทที่ส่ง  HPH
ที่มาของปัญหา
จากการทบทวนอุบัติการณ์  ปี 2553  พบว่า อัตราการเกิดDFIU  ในหญิงที่ฝากครรภ์รพ.นราธิวาสราชนครินทร์  = 9.08ต่อพันการเกิดทั้งหมด  เกินเกณฑ์(เกณฑ์< 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด) จำนวนที่มีภาวะDFIU 11 ราย อายุครรภ์ที่พบคือ 28 , 31 ,  33  ,35  ,37  ,38 , 41  wks  จำนวน  2, 2 ,2 2 ,1 ,1, 1  ราย ตามลำดับ
การดำเนินงาน  เจ้าหน้าที่สอนการนับและบันทึกเด็กดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์  32   สัปดาห์   โดยให้นับหลังรับประทานอาหาร ทั้ง 3 มื้อ  ภายใน  1 ชม. ถ้าทารกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา  
จากการเก็บรวบรวมสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะDFIU ปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ ขาดความตระหนักในการสังเกตลูกดิ้น และว่าพบทารกเสียชีวิตในครรภ์เมื่ออายุ28- 32 สัปดาห์ปี 2553 จำนวน 4 ราย และเสียชีวิตในครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไปจำนวน 7 รายจึงได้จัดทำกิจกรรมพัฒนางาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังทารกเสียชีวิตในครรภ์ให้เร็วขึ้น โดยให้หญิงตั้งครรภ์นับและบันทึกเด็กดิ้นตั้งแต่ 28 สัปดาห์
วัตถุประสงค์  
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังทารกเสียชีวิตในครรภ์ ตั้งแต่  28 สัปดาห์
ตารางการแก้ปัญหา
ปัญหา
สาเหตุ
วิธีการปรับปรุง/แก้ปัญหา
ผู้รับผิดชอบ
   จากการทบทวนอุบัติการณ์  ปี 2553  พบว่า อัตราการเกิดDFIU  จำนวนที่ฝากครรภ์รพ.นราธิวาสราชนครินทร์  = 9.08ต่อพันการเกิดทั้งหมด  เกินเกณฑ์(เกณฑ์< 9.08ต่อพันการเกิดทั้งหมด) จำนวนที่มีภาวะDFIU  11 ราย     อายุครรภ์ที่พบคือ 28  31   33  35  37  38  41  wks  จำนวน  2 2 2 2 1 1 1 ราย ตามลำดับ

- หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้และความตระหนักในการนับและบันทึกลูกดิ้น
- เดิมแผนกฝากครรภ์จะให้ความรู้ในการนับเด็กดิ้นและบันทึกการนับเด็กดิ้นตั้งแต่  32 สัปดาห์

1. ประชุมทีมงาน พยาบาลฝากครรภ์หาแนวทางการป้องกัน
2. ที่ประชุมมีข้อตกลงให้ปรับปรุงแนวทางการนับและบันทึกการดิ้นของทารกให้เร็วขึ้นคือให้นับตั้งแต่อายุครรภ์  28 สัปดาห์ ขึ้นไปเนื่องจากเด็กที่คลอดตั้งแต่อายุครรภ์  28 สัปดาห์ สามารถมีชีวิตรอดได้  และให้นับจนถึงคลอด โดยให้นับและบันทึกเด็กดิ้นหลังอาหารมื้อเช้า   มื้อเที่ยง   มื้อเย็น ทารกควรดิ้นอย่างน้อย 3ครั้งใน 1 ชม.หลังอาหารหรือดิ้นมากกว่า  10  ครั้งต่อวัน จึงถือว่าปกติ
3. บันทึกเด็กดิ้นในของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
4. ให้ข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์และญาติเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อมารดาและทารกและความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์ต่อการการดิ้นของทารก แสดงถึงการมีชีวิตของทารก การเคลื่อนไหวของทารกมักจะลดลง และไม่เคลื่อนไหว 12 -48 ชั่วโมง ก่อนที่หัวใจทารกจะหยุดเต้น
5. สอนให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตลูกดิ้น  และให้บันทึกการดิ้นของทารกโดยให้นับและบันทึกเด็กดิ้นหลังอาหารมื้อเช้า   มื้อเที่ยง   มื้อเย็น ถ้าทารกควรดิ้นน้อยกว่า 3ครั้งใน 1 ชม. ให้รีบไปพบแพทย์
6. ติดตามการบันทึกเด็กดิ้นเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งต่อไปโดยเจ้าหน้าที่ที่ที่ตรวจครรภ์จะตรวจสอบการบันทึกเด็กดิ้น ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์
เจ้าหน้าที่แผนกฝากครรภ์
เครื่องชี้วัด       อัตราการเกิด ภาวะ DFIU < 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด 
ระยะเวลาดำเนินการ   วันที่1 ก.ย. 54 31 ต.ค. 2554

อายุครรภ์ตั้งแต่ 28wks  ขึ้นไป(ทั้งหมด)
อายุครภ์ >32 wks
อายุครภ์ 28-32 wks
อัตราDFIU
ก่อนทำ(ปี 2553)
11
7
4
9.08ต่อพันการเกิดทั้งหมด 
หลังทำ(ปี 2554)
2
2
0
2.46: พันการเกิดทั้งหมด 
เป้าหมาย
-
-
-
<9ต่อพันการเกิดทั้งหมด 
ปฏิบัติได้
-
-
-
2.46: พัน
(ลดลง 6.54)


ผลลัพธ์  ทางตรง  หลังทำ(ปี 2554)อัตราการเกิด ภาวะ DFIU  2.46: พันการเกิดทั้งหมด
ผลทางอ้อม ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการให้หญิงตั้งครรภ์นับและบันทึกการดิ้นของทารกตั้งแต่ 28 สัปดาห์
บทเรียนที่ได้รับ       
การให้หญิงตั้งครรภ์มีการดูแลตนเองโดยการนับและบันทึกลูกดิ้นให้เร็วขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง และป้องกันทารกเสียชีวิตในครรภ์    
ปัญหาและอุปสรรค     
หญิงตั้งครรภ์ขาดความตระหนักในการบันทึกลูกดิ้น บันทึกลูกดิ้นไม่สม่ำเสมอ
โอกาสพัฒนาต่อเนื่อง    
นำเสนอในที่ประชุม MCH   Board   อ. เมือง

ปี2555,2556 (ต.ค.-มี.ค.2556)  ผลการดำเนินการเฝ้าระวังต่อ พบว่าอัตรา DFIU = 4.05: พันการเกิดทั้งหมดและ  0 : พันการเกิดทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น