วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยงูกะปะกัด

พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยงูกะปะกัด
หน่วยงาน            ตึกอายุรกรรมหญิง
ที่มาของปัญหา / แรงจูงใจ   
ผู้ป่วยที่ถูกงูกะปะกัด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ compartment syndrome  ประมาณร้อยละแต่มีอาการรุนแรงมาก เกิดจากมีการบวมมากร่วมกับมีเลือดออกเข้าไปใน compartment ของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการกดทับหลอดเลือดแดง ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย อาการที่สำคัญ คือ ปวดมาก ชา   คลำชีพจรได้ลดลง ผิวหนังเย็น  compartment ตึงมาก ซึ่งต้องทำการรักษาโดยผ่าตัดทำ fasciotomy 
เดือนมกราคม  2556   มีกรณีศึกษารับRefer ผู้ป่วยงูกะปะกัดจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีภาวะ compartment syndromeและต้องส่งทำ fasciotomy  ด่วน 
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 
จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วยงูกะปะกัดพบว่าการประเมินและเฝ้าระวังความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนไม่ครอบคลุม  อาจทำให้เกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงผู้ป่วยอาจสูญเสียอวัยวะ หรือชีวิต
วัตถุประสงค์       
Early detection ภาวะcompartment syndrome ในผู้ป่วยงูกะปะกัด
กิจกรรมที่ดำเนินการ
            1. ประชุมทีมการพยาบาลตึกอายุรกรรมหญิง
                        - ทบทวนกรณีศึกษา ผู้ป่วยงูกะปะกัดและมีภาวะ compartment syndrome   
- เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยงูกะปะกัด 
-  การประเมินความปวด (  Pain score )
- การใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome  ;ซึ่งมีอาการและอาการแสดงที่
ต้องเพื่อประเมินคือ อาการปวด ( Pain) , การเคลื่อนไหว ( Paralysis) , อาการชา ( Paresthesia),ชีพจร (Pulse) , อุณหภูมิผิวหนัง ( Polalar) , สีผิวหนัง ( Pallor) , การรับรู้ความรู้สึก ( Sensation)
            2. นิเทศ ควบคุมกำกับและประเมินผล การใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome 
            3. ประเมินผลความพึงพอใจการใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome ผู้ป่วยงูกะปะกัดของผู้รับบริการ   โดยวิธีสัมภาษณ์ และใช้เกณฑ์คะแนนความปวด
เครื่องชี้วัด
            1. ร้อยละการใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome   ในผู้ป่วยงูกะปะกัด =100
            2. อัตรา early detection ภาวะcompartment syndrome ในผู้ป่วยงูกะปะกัดร้อยละ 100
ระยะเวลาดำเนินการ   เดือนมกราคม เดือน เมษายน  2556
 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 
ลำดับที่
ตัวชี้วัด
เป้า
หมาย
ก่อนพัฒนา
(ก..55-.. 55)
หลังการพัฒนา
..
56
มี..
56
เม..
56
..
56
1
ร้อยละการใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome   ในผู้ป่วยงูกะปะกัด
100
0
50
100
100
100
2
อัตรา Early detection ภาวะcompartment syndrome ในผู้ป่วยงูกะปะกัด
100 %
-
50
100
100
100
3
อัตราความพึงพอใจต่อการใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome ของกลุ่มผู้ป่วยงูกะปะกัด 
≥90%
-
100
90
93.33
100

จำนวนผู้ป่วยงูกะปะกัด

7
2
2
3
2
บทเรียนที่ได้รับ
1. ความรู้เรื่อง ภาวะcompartment syndrome
2. การใช้แบบประเมินภาวะ compartment syndrome
3. การค้นหา ป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงเป็นการเพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
ปัญหาอุปสรรค
ไม่มีเกณฑ์ประเมินอุณหภูมิผิวหนังระดับ เย็นมาก  กับ เย็นปานกลาง      
โอกาสพัฒนาต่อเนื่อง

พัฒนาวิธีวัดอุณหภูมิผิวหนังบริเวณที่ประเมิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น